ความเป็นมา
บริษัทได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการตลาดและการเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกรผู้ผลิตได้นำสินค้า เกษตรคุณภาพดี ปลอดภัย และได้มาตรฐาน มาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลาดเกษตรกรและสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ส่งผลให้เกษตรกรมี รายได้เพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เกษตรกร และภาคเอกชน ตามแนวทางประชารัฐ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาให้ตลาดเกษตรกรเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และท่องเที่ยวเชิงเกษตร สอดคล้องกับการเป็นเมืองเกษตรสีเขียวด้วย
ทั้งนี้เพื่อพัฒนาผลผลิตให้ตรงความต้องการตลาด และส่งเสริมการเพิ่มมูลค่า ตลอดจนสร้างความพร้อมในการเจรจาทางการตลาด เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรอย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาเพื่อสนับสนุนศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการ และการวิเคราะห์สถานการณ์ของศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ สร้างมาตรฐานที่ดี มีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งการมีความพร้อมต่อการแข่งขันสู่ตลาดในภูมิภาค และระดับสากลในอนาคต ตามแนวนโยบาย “ไทยแลนด์ ๔.๐” อันเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
๒.๑. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรพัฒนาขีดความสามารถในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตร ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายรัฐบาล
๒.๒. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยใช้ระบบสารสนเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าในพื้นที่ ลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของผลผลิตที่พร้อมออกจำหน่าย และการควบคุมคุณภาพของสินค้าเกษตรได้
๒.๓. เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนตลาดสำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินแนวทางในการเพิ่มช่องทางสำหรับการส่งเสริมการกระจายสินค้าเกษตรสู่ท้องตลาด
๒.๔. เพื่อเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตร ในการแข่งขันด้านฐานการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อสินค้าทางการเกษตรอื่น ในการเข้าสู่ยุคการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้
๒.๕. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลนำร่องสร้างต้นแบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบครบวงจร ให้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถบริหารจัดการได้โดยง่าย เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลต้นแบบและมีโครงสร้างรองรับสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้กับการขยายผลฐานข้อมูลมิติ อื่น ๆ สนับสนุนการบริหารงานของทางตลาดเกษตรกรได้
|